Last updated: 10 Oct 2019 | 2367 Views |
ว่ากันด้วยเรื่องของรามาน
ปรากฏการณ์รามาน เกิดขึ้นจากการยิงแสงเลเซอร์ความเข้มสูงเข้าสู่วัสดุ ทำให้โมเลกุลในวัสดุถูกกระตุ้นและเกิดการกระเจิงแสงออกมา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติของวัสดุทั่วๆไป โดยแสงที่กระเจิงออกมานี้จะมีความยาวคลื่นเดียวกันกับแสงเลเซอร์ที่มากระตุ้น ในที่นี้จะเรียกแสงนี้ว่า แสงเลย์ไร (Rayleigh Scatter) ส่วนลำแสงที่ได้จากการกระตุ้นอีกส่วนที่มีปริมาณน้อยมาก จะมีการกระเจิงแสงที่ความยาวคลื่นต่างออกไป ซึ่งเราจะเรียกลำแสงส่วนนี้ว่า แสงรามาน (Raman Scatter)
โดยถ้านำพลังงานของเลเซอร์เริ่มต้น (Ei) ลบออกด้วยพลังงานแสงรามานที่ปล่อยออกมา (Es) ก็จะเท่ากับพลังงานที่ใช้ในการสั่นของพันธะภายในโมเลกุล (Ev) ดังแสดงในสมการ
Ev = Ei – Es
ดังนั้น ข้อมูลจากสเปคตรัมรามานจึงเป็นลักษณะเฉพาะตัว (Chemical Fingerprint) ของโมเลกุลหรือวัสดุนั้นๆ และสามารถใช้ในการระบุชนิดของวัสดุตัวอย่างได้ นอกจากนี้ เทคนิครามานยังเป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายตัวอย่าง และไม่ต้องมีการเตรียมตัวอย่าง จึงนิยมใช้ในงานพิสูจน์อัญมณี งานโบราณคดี และงานพิสูจน์หลักฐาน เป็นต้น
และในปัจจุบันได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพของรามาน เพื่อใช้ในการสร้างภาพ (Raman Imaging) จากข้อมูลของสเปคตรัมรามานจำนวนมหาศาล โดยการทำงานร่วมกันระหว่างรามาน และกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) หรือในกรณีงานวิจัยระดับนาโน สามารถเชื่อมต่อรามาน และกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (AFM) ได้
Raman Imaging Gallery
Pharmaceutical Whole Tablet
System: LabRAM HR
Time per point: 1ms
Step size: 100 µm
Data points: 48,081
Expanded polymer beads in a polymer matrix,
System: LabRAM HR
Time per point: 800 ms
Step size: 1 µm
Data points: 186,922
Graphene
System: XploRA system
Time per point: 50 ms
Step size: 0.2 µm
Data points: 65,536